สาหร่ายคลอเรลลา (Chlorella)
สาหร่ายคลอเรลลา ถูกขนานนามว่า “Dream
Food”
จากการค้นคว้าทางวิทยาศาสต์พบว่า สาหร่ายคอลเรลล่า
ได้เกิดขึ้นมาบนโลกนี้ได้ 2 พันล้านปี
เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง
สิ่งที่ทำให้สาหร่ายคอลเรลล่าไม่สูญพันไป มีอยู่กัน 2 หลักใหญ่ ๆ คือ
1. สาหร่ายคอลเรลลา
มีขนาดเล็กมาก เพียง 3-8 ไมโครมิเตอร์ และมีผนังเซลล์ที่แข็งแรงมาก
2. สาหร่ายคอลเรลลา มีระบบการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วมาก
คือทุกๆ 20-24 ชั่วโมง มีการแบ่งเซลล์จาก 1 ไปเป็น 4
มนุษย์เราเริ่มนำสาหร่ายคอลเรลล่ามาใช้เมื่อประมาณปี
ค.ศ. 1930 สาหร่ายคอลเรลล่าอุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ จำนวนมากจำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน
สาหร่ายคอลเรลลาอุดมด้วยโปรตีนพิเศษ Chlorella
Growth Factor (CGF) ที่ช่วยการเจริญเติบโตของร่างกายในเด็กทั้งน้ำหนักและส่วนสูง มีคลอโรฟิลล์
ในความเข้มข้นที่สูงกว่าพืชชนิดอื่น
มีเปลือก (ผนังเซลล์) ดูดซับสารพิษ
และกระตุ้นการทำงานของทางเดินอาหาร
ช่วยให้แผลหายเร็ว อาทิ แผลในทางเดินอาหาร แผลเรื้อรัง ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยระบบทางเดินอาหารให้ทำงานเป็นปกติ
เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ต่อต้านไวรัส
ปรับสมดุลของร่างกาย (กรด-ด่าง)
ลดโอการเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ช่วยให้หลอดเลือดและหัวใจแข็งแรง และคุณประโยชน์อื่นๆ
อีกมากมาย
ชาเขียว
ชามีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ตั้งแต่ก่อนคริสต์ศักราช ในประเทศไทยเกิดในสมัยสุโขทัย โดยนิยมชงมาไว้เพื่อรับแขก สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมอยู่ทางภาคเหนือ
ชาเขียว (Green
tea) คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา
ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis ซึ่งชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย
เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการก็คือเมื่อเก็บใบชามาแล้วก็นำมาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทอง
แดงโดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆ ก่อนแห้ง หรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น
ๆ แล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ (ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว)
จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่ และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า “ชาเขียว” และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก จึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล
(Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ
(สองชนิดนี้คือชาที่ผ่านการหมัก) จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสอง
ความลับของชาเขียวอยู่ที่ปริมาณสาร
Catechin
Polyphenol โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
EpigallocatechinGallate (EGCG) ที่มีอยู่มากในตัวชา
EGCG เป็นสารต้านพิษ
และยังช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งด้วยการฆ่าเซลล์มะเร็ง
โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนดี นอกจากนั้นยังช่วยลดระดับ LDL คลอเรสเตอรอลและยับยั้งการก่อตัวแบบผิดปกติของก้อนเลือด
ซึ่งเป็นเหตุของอาการหัวใจวายและลมชัก ในการวิจัยเมื่อปี 1997 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคนซัส
สรุปว่า EGCG นั้นแรงเท่า ๆ กับ Resveratrol ถึงเกือบ 2 เท่า
ซึ่งเป็นการอธิบายว่า ทำไมชาวญี่ปุ่นจึงมีอัตราการเสี่ยงโรคหัวใจค่อนข้างต่ำแม้ว่ากว่า
75% จะสูบบุหรี่ก็ตามสารสกัด EGCG นี้ในทางเคมีจัดเป็นสารโพลีฟีนอลชนิดหนึ่งที่มีการวิจัยกันอย่างกว้างขวาง
และหลายการวิจัยก็พบว่า สาร EGCG ดังกล่าวนี้มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ได้แก่
1. มีส่วนช่วยในขบวนการการกำจัดไขมัน
คลอเรสเตอรอลในหลอดเลือด ซึ่งทำให้ลดภาวะความเสี่ยง
ต่อโรคความดันโลหิตสูงจากการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด
2. ช่วยในการขับสารพิษ
และสารอนุมูลอิสระ จึงส่งผลในการป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็งและ
โรคความเสื่อมของเซลล์
และอวัยวะต่างๆในร่างกาย
3. ช่วยทำให้ร่างกายของเรารู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เนื่องจากมีผลในการกระตุ้นการทำงาน
3. ช่วยทำให้ร่างกายของเรารู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เนื่องจากมีผลในการกระตุ้นการทำงาน
ระดับเซลล์
และนอกจากสรรพคุณดังกล่าวจากสาร EGCG
ที่มีอยู่ในชาเขียวแล้ว ชาเขียวยังให้สารอื่นๆ อีกมากมาย เช่น
สารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ซึ่งมีประโยชน์ต่อขบวนการการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และขับสารพิษตกค้างออกจากร่างกายของเรา
และจะทำงานร่วมกับสาร EGCG ในการช่วยทำให้ร่างกายของเรารู้สึกสดชื่น
และลดความเสี่ยงจากอันตรายของสารพิษและอนุมูลอิสระ นอกจากนั้นชาเขียวยังมีวิตามิน (Vitamins) เกลือแร่ (Minerals) และสารอาหารจากพืชที่มีความสำคัญต่อร่างกายอีกมากมาย
ข้าวบาร์เลย์ (Barley)
เป็นธัญพืชเก่าแก่ของมนุษย์
มีถิ่นกำเนิดในแถบซีเรียและอิรัก ซึ่งเชื่อว่าเป็นบริเวณที่มีการเพาะปลูกเป็นแห่งแรก
ชาวกรีกและโรมันโบราณนำข้าวบาร์เลย์มาทำขนมปังและเค้กเมื่อกว่า 2,000
ปีมาแล้ว
ต่อมาผู้คนหันไปนิยมรสชาติของข้าวสาลีมากกว่าในปัจจุบันข้าวบาร์เลย์ใช้มากในการผลิตมอลต์สำหรับอุตสาหกรรมเบียร์และวิสกี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้ข้าวบาร์เลย์เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ธัญชาติอบกรอบ และขนมอบด้วย
ข้าวบาร์เลย์เป็นพืชในวงศ์เดียวกับไผ่ (ดูไผ่ตง) ตะไคร้ หญ้าและธัญพืช เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี ใบอ่อนของข้าวบาร์เลย์มีคุณค่าให้คลอโรฟิลล์ ซึ่งมีแร่ธาตุและวิตามินสูง
ข้าวบาร์เลย์เป็นพืชในวงศ์เดียวกับไผ่ (ดูไผ่ตง) ตะไคร้ หญ้าและธัญพืช เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี ใบอ่อนของข้าวบาร์เลย์มีคุณค่าให้คลอโรฟิลล์ ซึ่งมีแร่ธาตุและวิตามินสูง
ประโยชน์ของข้าวบาร์เลย์
- ขจัดสารพิษในร่างกาย
- ลดระดับคลอเลสเตอรอล
- ลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน
- ป้องกันโรคหัวใจ
- ป้องกันปัญหาท้องผูก ลดปัจจัยการเกิดมะเร็งลำไส้
พืชสีเขียวที่ได้ยกตัวอย่าง ทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ อัลฟัลฟ่า วีทกราส (ต้นข้าวสาลีอ่อน) สาหร่ายคลอเรลลา และชาเขียว ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น และอีกอย่างคือข้าวบาร์เลย์ เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าต่อร่างกายของเราเช่นกัน
เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเรา เราควรเลือกสรรสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยการศึกษาคุณประโยชน์และโทษที่อาจจะเกิดขึ้นให้ดีก่อนนำสู่ร่างกาย
ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพที่ดี "สุขภาพดีมีชัยไปกว่าครึ่ง"
www.behealthy24hr.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น