วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของตำลึง



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ตำลึงเป็นไม้เถามีอายุอยู่ได้หลายปี เมื่ออายุมากเถาจะใหญ่และแข็ง เถาสีเขียวตามข้อมีมือเกาะ ใบออกสลับกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกสีขาว ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน ผลคล้ายลูกแตงกวา แต่ขนาดเล็กกว่า ผลดิบสีเขียว และมีลายขาว เมื่อลูกสุกเต็มที่สีแดงสด ปลูกเป็นผักขึ้นตามรั้วบ้านตามชนบททั่วไป ปลูกโดยใช้เมล็ด
สรรพคุณ / ประโยชน์ของตำลึง
คุณค่าทางอาหารของตำลึง
ในตำลึงมีคุณค่าทางด้านอาหารสูง ประกอบด้วยวิตามินเอ และสารแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และยังมีโปรตีน ไขมัน  คาร์โบไฮเดรต  ฟอสฟอรัส  เหล็ก วิตามิน และอื่นๆ นับเป็นอาหารบำรุงที่ดี ยอดตำลึงใช้เป็นผักปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก แกงจืดตำลึงหมูสับ แกงเลียง หรือใส่ก๋วยเตี๋ยวแทนถั่วงอกก็ได้

ประโยชน์ของตำลึง
ใบดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน ดับพิษฝี แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน ดอก แก้คัน เมล็ด ตำผสมน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิด เถา ใช้น้ำจากเถาหยดตา แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ ชงกับน้ำดื่มแก้วิงเวียนศีรษะ ราก ดับพิษทั้งปวง แก้ตาฝ้า ลดไข้ แก้อาเจียน น้ำยาง ต้น ใบ ราก แก้โรคเบาหวาน หัว ดับพิษทั้งปวง
สรรพคุณของตำลึง
รักษาโรคเบาหวาน : ใช้เถาแก่ ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ : ควรรับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน
ลดอาการคัน อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ : นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับหมดคันไฟ หรือใบตำแย)
แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น
แก้งูสวัด, เริม : ใช้ใบสด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ
แก้ตาช้ำตาแดง : ตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา
 
ทำให้ใบหน้าเต่งตึง : นำยอดตำลึง 1/2 ถ้วย น้ำผึ้งแท้ 1/2 ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก

- ใบใช้ในการแก้ไข้ ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ
- เถานำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง
- ดอกตำลึงช่วยทำให้หายจากอาการคันได้
- รากใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า
- น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมประชาสัมพันธ์
www.behealthy24hr.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น